วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

นวัตกรรมการเรียนการสอน

คู่มือการใช้นวัตกรรม
อุปกรณ์สื่อ / ตัวอย่างการปะติดด้วยเศษวัสดุ
เรื่อง เรื่อง มหัศจรรย์ภาพปะติดด้วยเศษวัสดุ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6


นางสาวกานดา ทันจิตร
ครูฝึกสอน
โรงเรียนอนุบาลบ้านโป่ง (วัดปลักแรด)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรีเขต 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ


สารบัญ
คู่มือการใช้นวัตกรรม
หลักการและเหตุผล
วิธีการจัดทำ
ลักษณะของนวัตกรรม
วิธีใช้
คำอธิบายรายวิชา
แผนการสอน
แบบทดสอบก่อนเรียน
แบบทดสอบหลังเรียน
ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง มหัศจรรย์ภาพปะติดด้วยเศษวัสดุ
ใบมอบหมายงานที่ 1.1 เรื่อง มหัศจรรย์ภาพปะติดด้วยเศษวัสดุ






คำชี้แจง
อุปกรณ์สื่อ / ตัวอย่างการปะติดด้วยเศษวัสดุจัดได้ว่าเป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนอย่างหนึ่ง สามารถจัดสอนให้เด็กนักเรียนได้การปะติดด้วยเศษวัสดุการปะติดเศษวัสดุเป็นการนำเศษวัสดุที่ได้จากธรรมชาติและวัสดุสังเคราะห์โดยที่ มีการนำมาสร้างสรรค์ผลงาน ที่ต้องการและทำให้เศษวัสดุเกิดประโยชน์โดยที่ไม่เป็นขยะที่ศูนย์เปล่าสามความเหมาะสมโดยพิจารณาถึงลักษณะการนำไปใช้ ความต้องการของผู้เรียนและองค์ประกอบของเนื้อหาที่จะต้องสอดคล้องกับหลักสูตรเป็นสำคัญโดยเฉพาะจุดประสงค์การเรียนรู้
คู่มือการใช้อุปกรณ์สื่อ / ตัวอย่างการปะติดด้วยเศษวัสดุจัดเล่มนี้ ใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชาศิลปะ ในการจัดทำได้ศึกษาองค์ประกอบของหลักสูตร เอกสารทางด้านศิลปะที่เกี่ยวข้องและพิจารณาถึงความต้องการของนักเรียน ในเอกสารฉบับนี้จะกล่าวถึง หลักการและเหตุผล วิธีการ ลักษะณะของนวัตกรรม วิธีใช้ คำอธิบายรายวิชาอย่างละเอียด
ขอขอบคุณทุกท่านที่ได้ให้ข้อคิด คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือการใช้อุปกรณ์สื่อ / ตัวอย่างการปะติดด้วยเศษวัสดุจัดเล่มนี้คงเป็นประโยชน์ต่อนักเรียน ครู และผู้สนใจทั่วไปได้บ้างไม่มากก็น้อย

นางสาวกานดา ทันจิตร
โรงเรียนอนุบาลบ้านโป่ง (วัดปลักแรด)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรีเขต 2

คำชี้แจงสำหรับครู
1. ก่อนใช้ควรศึกษาการใช้อุปกรณ์สื่อ/ปะติดด้วยเศษวัสดุให้รอบคอบ จากคู่มือการใช้ให้เข้าใจ
2. ศึกษาแผนการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จุดประสงค์การเรียนรู้ คุณลักษณะที่พึง
ประสงค์ สาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ตลอดจนแหล่งการ
เรียนรู้ ให้เข้าใจอย่างชัดเจน
3. ศึกษาแนวทางการ และการใช้ใช้อุปกรณ์สื่อ/ปะติดด้วยเศษวัสดุ
4. ตรวจสอบและจัดเตรียมเอกสารประกอบการเรียน สื่อการเรียนรู้ และเอกสารอื่นๆให้พร้อม
5. ก่อนสอนครูควรชี้แจงบทบาทและหน้าที่ของผู้เรียน และกำหนดข้อตกลงร่วมกัน
6. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนจำนวน 10 ข้อ
เพื่อประเมินความรู้พื้นฐานของผู้เรียน
7. ขณะประกอบกิจกรรม ครูควรเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำนักเรียนที่มีปัญหา
8. ประเมินผลในด้านทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ จากการปฎิบัติกิจกรรมการทำงานปะติดด้วยเศษวัสดุและสรุปคะแนน
9. เมื่อสร้างสรรค์การปะติดด้วยเศษวัสดุแล้ว ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน และนำผลมา
เปรียบเทียบเพื่อทราบผลการพัฒนาในการเรียนรู้
10. เมื่อเรียนครบทุกชุดกิจแล้วให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน จำนวน 10 ข้อ
เพื่อวัดความรู้ความเข้าใจ แล้วนำผลการทดสอบก่อนและหลังเรียนมาเปรียบเทียบเพื่อทราบ ผลการพัฒนาในภาพรวมด้วย


คำชี้แจงสำหรับนักเรียน

ขณะศึกษาอุปกรณ์สื่อ / ตัวอย่างการปะติดด้วยเศษวัสดุ ผู้เรียนควรปฎิบัติ ดังนี้
1. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อประเมินความรู้พื้นฐานของผู้เรียน
2. ควรอ่านคำชี้แจง ของแต่ละกิจกรรมให้เข้าใจ
3. ปฎิบัติตามคำชี้แจง ตามกำหนดเวลา
4. นำเสนองานเพื่อทราบผลความสมบูรณืแบบของผลงาน
5. ปฎิบัติกิจกรรมด้วยความตั้งใจ
6. ทำแบบทดสอบหลังเรียนด้วยความรอบคอบและมั่นใจ











คู่มือการใช้นวัตกรรม
1 ชื่อนวัตกรรม อุปกรณ์สื่อ / ตัวอย่างการปะติดด้วยเศษวัสดุ
2 ชื่อผู้จัดทำ นางสาวกานดา ทันจิตร
โรงเรียนอนุบาลบ้านโป่ง (วัดปลักแรด) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรีเขต 2
3 ใช้สำหรับการเรียนการสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เรื่อง มหัศจรรย์ภาพปะติดด้วยเศษวัสดุ
4 . หลักการและเหตุผล
ศิลปะ มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ มนุษย์มีความต้องการด้านร่าร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านอารมณ์ ความต้องการเหล่านี้ขึ้นอยู่กับทัศนะของแต่ละบุคคล การมองเห็นความงามของธรรมชาติ ความสงบราบเรียบของท้องทะเลและอื่นๆ เป็นทัศนียภาพ สิ่งที่มองเห็นเกิดความรู้สึกมีคุณค่าของความงามจนเกิดสุนทรียภาพ
ศิลปะทำให้ชีวิตมีความหมาย มนุษย์จะอยู่ได้ด้วยปัจจัย 4 ประการ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และ ยารักษาโรค แต่มนุษย์ก็ยังต้องการ อาหารทางใจ มาช่วยผ่อนคลายความเคร่งเครียดในชีวิตประจำวัน และช่วยพัฒนาอารมณ์ จิตใจจึงจะทำให้ชีวิตนี้มีความสุขสมบูรณ์ได้
อาหารทางใจที่มนุษย์ต้องการ มีการสืบทอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็คือ ศิลปะนั่นเอง
ศิลปะ เป็นผลงานอันเกิดจากความต้องพากเพียรของมนุษย์ ในอันที่จะสร้างสรรค์ความงาม เพื่อจรรโลงจิตใจและประโยชน์ที่จะใช้สอยได้

5 . ประโยชน์ที่นักเรียนได้รับ
- นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการได้
- นักเรียนแสดงออกด้านศิลปะด้วยความมั่นใจ
-นักเรียนเห็นคุณค่าของของเศษวัสดุเหลือใช้
6 . ลักษณะของอุปกรณ์สื่อ / ตัวอย่างการปะติดด้วยเศษวัสดุ ภาคเรียนที่ 1
เป็นอุปกรณ์สื่อ / ตัวอย่างการปะติดด้วยเศษวัสดุ เป็นสร้างงานการปะติดด้วยเศษวัสดุที่มีทั้งวัสดุจากธรรมชาติและวัสดุสังเคราะห์มีดังนี้
ลำดับการใช้ขั้นตอนการใช้ อุปกรณ์สื่อ / ตัวอย่างการปะติดด้วยเศษวัสดุ
1. อ่านคำแนะนำ
2. ทดสอบก่อนเรียน
3. เร้าความสนใจด้วย อุปกรณ์สื่อ / ตัวอย่างการปะติดด้วยเศษวัสดุ
3.1 อธิบายการสร้างภาพการปะติดด้วยเศษวัสดุ
3.2 เปิดสวิตช์ไฟและสวิตช์เสียงด้านข้างขวามือ
4. สร้างภาพปะติดด้วยเศษวัสดุ
5. ทำแบบฝึกหัด
6. นำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
7. ตรวจสอบผลงาน
8. ทดสอบหลังเรียน
9. แบบประเมินคุณลักษณะด้านความรับผิดชอบ

ข้อควรระวัง : ไม่ควรให้อุปกรณ์สื่อการปะติดจากเศษวัสดุโดนน้ำอาจเกิดการเสียหายได้




บรรณานุกรม
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ การวิจัยในชั้นเรียน กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การ
ศาสนา, 2539 .
. ครูกับการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา
ลาดพร้าว, 2543.
คู่มือดำเนินการสัมมนาครูแกนนำเพื่อเป็นต้นแบบปฏิรูปการเรียนรู้


ใบมอบหมายงานที่ 1.1
เรื่อง มหัศจรรย์ภาพปะติดด้วยเศษวัสดุ
โรงเรียนอนุบาลบ้านโป่ง (วัดปลักแรด) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรีเขต 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ


คำสั่ง
ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
การทำภาพปะติดด้วยเศษวัสดุทำได้ไม่ยาก นักเรียนต้องรู้จักเลือกใช้วัสดุและปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
วัสดุและอุปกรณ์
1.เศษวัสดุต่างๆ
2. กาว
3. กรรไกร
4. กระดาษแข็ง
ขั้นตอนการทำ
1.ออกแบบภาพที่ต้องการลงบนกระดาษ







2. เลือกเศษวัสดุและทดลองวางให้เป็นภาพที่ออกแบบไว้



3. ทากาวเศษวัสดุแล้วนำไปปะติดบนกระดาษ



4. ตกแต่งให้สวยงาม







แบบทดสอบก่อนเรียน
เรื่อง มหัศจรรย์ภาพปะติดด้วยเศษวัสดุ
โรงเรียนอนุบาลบ้านโป่ง (วัดปลักแรด) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรีเขต 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ


คำชี้แจง ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย X หน้าข้อที่ถูกที่สุด
1. วัสดุใดไม่ควรนำมาใช้ทำภาพปะติด
ก. เมล็ดข้าวสาร
ข. เศษเปลือกไม้
ค. เมล็ดข้าวโพด
ง. ใบมีด

2.
จากภาพ เป็นเศษวัสดุประเภทใด
ก. วัสดุธรรมชาติ
ข. วัสดุสังเคราะห์
ค. วัสดุมีคม
ง. วัสดุผิวมัน
3. เศษวัสดุ หมายถึงข้อใด
ก. ฝาขวด
ข. กระเป๋า
ค. กรรไกร
ง. เสื้อผ้า
4. การสร้างสรรค์งานจากเศษวัสดุสิ่งใดสำคัญที่สุด
ก. กระดาษรองพื้น
ข. กรรไกร
ค. วัสดุที่ใช้
ง. ดินสอร่างแบบ
5. การปะติดวัสดุกับกระดาษ ควรใช้อุปกรณ์ข้อใด
ก. เทปกาว
ข. กาวลาเท็กซ์
ค. ลวดเย็บ
ง. แป้งเปียก
6. ข้อใดเป็นเศษวัสดุสังเคราะห์
ก. เปลือกถั่ว
ข. กาบมะพร้าว
ค. ฟองน้ำ
ง. ขี้เลื่อย
7. ข้อใดเป็นประโยชน์ของภาพปะติด
ก. ใช้ตกแต่งผนังบ้าน
ข. ใช้เป็นของเล่น
ค. ใช้เป็นของใช้
ง. ใช้เป็นเครื่องประดับ
8. วัสดุใดไม่สามารถนำมาทำเป็นภาพปะติดได้
ก. ข้าวเปลือก
ข. ข้าวสาร
ค. ข้าวสวย
ง. ถั่วลิสง
9. เศษวัสดุที่นำมาทำภาพปะติด ควรมีลักษณะใด
ก. สีสันสวยงาม
ข. มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา
ค. มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก
ง. ผิวขรุขระ เป็นก้อนกลม
10. วัสดุที่มีผิวเป็นหนาม ไม่เหมาะนำมาทำภาพปะติด เพราะเหตุใด
ก. มีพื้นผิวหยาบ
ข. มีลักษณะไม่สวยงาม
ค. มีสีสันไม่สวยงาม
ง. มีอันตราย ติดกาวยาก


แบบทดสอบหลังเรียน
เรื่อง มหัศจรรย์ภาพปะติดด้วยเศษวัสดุ
โรงเรียนอนุบาลบ้านโป่ง (วัดปลักแรด) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรีเขต 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ



คำชี้แจง ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย X หน้าข้อที่ถูกที่สุด
1. วัสดุใดไม่ควรนำมาใช้ทำภาพปะติด
ก. เมล็ดข้าวสาร
ข. เศษเปลือกไม้
ค. เมล็ดข้าวโพด
ง. ใบมีด


2. จากภาพ เป็นเศษวัสดุประเภทใด
ก. วัสดุธรรมชาติ
ข. วัสดุสังเคราะห์
ค. วัสดุมีคม
ง. วัสดุผิวมัน
3. เศษวัสดุ หมายถึงข้อใด
ก. ฝาขวด
ข. กระเป๋า
ค. กรรไกร
ง. เสื้อผ้า
4. การสร้างสรรค์งานจากเศษวัสดุสิ่งใดสำคัญที่สุด
ก. กระดาษรองพื้น
ข. กรรไกร
ค. วัสดุที่ใช้
ง. ดินสอร่างแบบ
5. การปะติดวัสดุกับกระดาษ ควรใช้อุปกรณ์ข้อใด
ก. เทปกาว
ข. กาวลาเท็กซ์
ค. ลวดเย็บ
ง. แป้งเปียก
6. ข้อใดเป็นเศษวัสดุสังเคราะห์
ก. เปลือกถั่ว
ข. กาบมะพร้าว
ค. ฟองน้ำ
ง. ขี้เลื่อย
7. ข้อใดเป็นประโยชน์ของภาพปะติด
ก. ใช้ตกแต่งผนังบ้าน
ข. ใช้เป็นของเล่น
ค. ใช้เป็นของใช้
ง. ใช้เป็นเครื่องประดับ
8. วัสดุใดไม่สามารถนำมาทำเป็นภาพปะติดได้
ก. ข้าวเปลือก
ข. ข้าวสาร
ค. ข้าวสวย
ง. ถั่วลิสง
9. เศษวัสดุที่นำมาทำภาพปะติด ควรมีลักษณะใด
ก. สีสันสวยงาม
ข. มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา
ค. มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก
ง. ผิวขรุขระ เป็นก้อนกลม
10. วัสดุที่มีผิวเป็นหนาม ไม่เหมาะนำมาทำภาพปะติด เพราะเหตุใด
ก. มีพื้นผิวหยาบ
ข. มีลักษณะไม่สวยงาม
ค. มีสีสันไม่สวยงาม
ง. มีอันตราย ติดกาวยาก

เรื่อง มหัศจรรย์ภาพปะติดด้วยเศษวัสดุ
โรงเรียนอนุบาลบ้านโป่ง (วัดปลักแรด) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรีเขต 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ
.............................................................................................................................................................

เฉลยแบบทดสอบ
1. ง
2. ก
3. ก
4. ค
5. ข
6. ค
8. ค
9. ข
10. งใบความรู้ที่ 1
เรื่อง มหัศจรรย์ภาพปะติดด้วยเศษวัสดุ
โรงเรียนอนุบาลบ้านโป่ง (วัดปลักแรด) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรีเขต 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ



อันดับแรกนะจ๊ะ
การรู้จักเลือกใช้วัสดุและเศษวัสดุและ การออกแบบชิ้นงานเป็นหลักสำคัญในการสร้างสรรค์งาน


วัสดุที่ใช้ในการสร้างภาพปะติด
ประเภทเศษวัสดุ แบ่งเป็น 2 ประเภท
1.เศษวัสดุจากธรรมชาติ
2.เศษวัสดุที่มนุษย์สร้างขึ้น


หลักการเลือกวัสดุมาสร้างสรรค์เป็นภาพปะติด
มีดังนี้
1.ต้องเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบา และมีขนาดไม่ใหญ่
หรือเล็กจนเกินไป
2.เป็นวัสดุไม่มีคมหรือไม่ก่อให้เกิดอันตราย
3.เป็นวัสดุที่หาได้ง่าย และราคาไม่แพง
4.สามารถติดยึดได้ด้วยกาว


แผนการจัดการเรียนรู้
วิชา ศิลปะ รหัสวิชา ศ.10110 หน่วยที่ 1 เรื่อง มหัศจรรย์การปะติดด้วยเศษวัสดุ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้สอน นางสาวกานดา ทันจิตร สอนวันที่ 30 พฤศจิกายน 2552 จำนวน 1 ชั่วโมง
_____________________________________________________________
สาระสำคัญ
การปะติดด้วยเศษวัสดุการปะติดเศษวัสดุเป็นการนำเศษวัสดุที่ได้จากธรรมชาติและวัสดุสังเคราะห์โดยที่ มีการนำมาสร้างสรรค์ผลงาน ที่ต้องการและทำให้เศษวัสดุเกิดประโยชน์โดยที่ไม่เป็นขยะที่ศูนย์เปล่า
จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ปลายทาง
นักเรียนสร้างสรรค์มหัศจรรย์การปะติดด้วยเศษวัสดุได้
จุดประสงค์นำทาง
สรรค์และจินตนาการได้
1. นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการได้
2.นักเรียนแสดงออกด้านศิลปะด้วยความมั่นใจ
3. นักเรียนเห็นคุณค่าของของเศษวัสดุเหลือใช้
สาระการเรียนรู้
สร้างสรรค์ภาพปะติดด้วยเศษวัสดุ
1. อธิบายเศษวัสดุจากธรรมชาติและเศษวัสดุที่มนุษย์สร้างขึ้น
2. การสร้างสรรค์ภาพปะติดด้วยเศษวัสดุ
3. ประโยชน์ของการสร้างสรรค์ภาพปะติด
กระบวนการเรียนรู้
1. ขั้นอธิบาย เศษวัสดุจากธรรมชาติและเศษวัสดุที่มนุษย์สร้างขึ้น
1.1 จัดทำชั้นเรียน โดยให้นักเรียนนั่งที่เป็นกลุ่ม 6-7 คน
1.2 เร้าความสนใจด้วยการอุปกรณ์/สื่อ ผลงานการปะติดด้วยเศษวัสดุธรรมชาติและวัสดุที่มนุษย์สร้างขึ้นมาให้นักเรียนดู
1.3 ครูสนทนาเกี่ยวกับการทำภาพปะติดด้วยเศษวัสดุ
1.4 ปฏิบัติภาระงาน โดยแต่ละกลุ่มช่วยกันปฏิบัติสร้างสรรค์ภาพปะติดด้วยเศษวัสดุ
1.5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยกำหนดงานของแต่ละกลุ่มมาตรวจสอบ
1.6 นำเสนอผลงาน โดยนำงานของแต่ละกลุ่มมาสรุปให้กลุ่มอื่นฟัง
1.7 ประเมินสรุปและเพิ่มเติมเนื้อหา
2. ขั้นปฏิบัติ การสร้างสรรค์ภาพปะติดด้วยเศษวัสดุ
1.1 จัดทำชั้นเรียน โดยให้นักเรียนนั่งที่เป็นกลุ่ม 6-7 คน
1.2 เร้าความสนใจด้วยภาพปะติดมาให้นักเรียนดู
1.3 ครูสนทนาเกี่ยวกับภาพปะติดด้วยเศษวัสดุ
1.4 ปฏิบัติภาระงานโดยที่กำหนด ช่วยกันปฏิบัติสร้างสรรค์ภาพปะติดด้วยเศษวัสดุ พร้อมกับทำกิจกรรมตามใบมอบหมายงานที่ 1.1
1.5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยกำหนดงานของแต่ละกลุ่มมาตรวจสอบ
1.6 นำเสนอผลงาน โดยนำงานของแต่ละกลุ่มมาสรุปให้กลุ่มอื่นฟัง
1.7 ประเมินสรุปและเพิ่มเติมเนื้อหา
3. ขั้นประโยชน์ของการสร้างสรรค์ภาพปะติด
1.1 จัดทำชั้นเรียน โดยให้นักเรียนนั่งที่เป็นกลุ่ม 6-7 คน
1.2 เร้าความสนใจด้วยภาพปะติดของแต่ละกลุ่ม
1.3 ครูสนทนาเกี่ยวกับประโยชน์ของการสร้างสรรค์ภาพปะติด
1.4 ปฏิบัติภาระงาน โดยแต่โดยที่กำหนด ตกแต่งผลงาน
1.5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยกำหนดงานของแต่ละกลุ่มมาตรวจสอบ
1.6 นำเสนอผลงาน ของแต่ละกลุ่มถึงประโยชน์ของการสร้างสรรค์ภาพปะติด
1.7 ประเมินสรุปและเพิ่มเติมเนื้อหา


สื่อ/แหล่งเรียนรู้
1. อุปกรณ์/สื่อ การปะติดด้วยเศษวัสดุธรรมชาติและวัสดุ
2. ใบความรู้ที่ 1 การสร้างสรรค์ภาพปะติดด้วยเศษวัสดุ

การวัดผลและการประเมินผล
1. วัดผลการอธิบายเศษวัสดุจากธรรมชาติและเศษวัสดุที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยยึดเกณฑ์ถูต้อง
2. วัดผลการอธิบายการสร้างสรรค์ภาพปะติดด้วยเศษวัสดุ โดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง
3. วัดผลจากประโยชน์ของการสร้างสรรค์ภาพปะติดโดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง
การประเมินผล
1. ประเมินผลจากการสรุปเศษวัสดุจากธรรมชาติและเศษวัสดุที่มนุษย์สร้างขึ้น พบว่านักเรียนบางกลุ่มยังสรุปไม่ถูกต้องแก้ไขด้วยให้ครูอธิบายเพิ่มเติมในชั้นเรียน
2. ประเมินผลจากการอธิบายการสร้างสรรค์ภาพปะติดด้วยเศษวัสดุ พบว่านักเรียนบางกลุ่มยังอธิบายไม่ถูกต้องแก้ไขด้วยให้ครูอธิบายเพิ่มเติมในชั้นเรียน
3. ประเมินผลจากประโยชน์ของการสร้างสรรค์ภาพปะติด พบว่านักเรียนบางกลุ่มยังอธิบายไม่ถูกต้องแก้ไขด้วยให้ครูอธิบายเพิ่มเติมในชั้นเรียน

บันทึกหลังการสอน.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................................................................................................................


ใบหมอบหมายงานที่ 1.1
เรื่อง มหัศจรรย์การปะติดด้วยเศษวัสดุ
โรงเรียนอนุบาลบ้านโป่ง (วัดปลักแรด) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรีเขต 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ

ชื่อ-นามสกุล...........................................................เลขที่...............................ชั้น............

คำสั่ง ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
1.1 อธิบายขั้นตอนการทำงานพร้อมกับอุปกรณ์การสร้างภาพปะติด








1.2 เศษวัสดุที่ใช้ในการสร้างภาพปะติด
...........................................................................................................................................
...........................................................................................................................................
...........................................................................................................................................
...........................................................................................................................................
1.2 ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน
..........................................................................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................................................................
1.3 การแก้ไขปัญหาในการทำงาน
..........................................................................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................................................................
1.4 นักเรียนได้รับประโยชน์อะไรบ้างจากการทำกิจกรรมมหัศจรรย์การปะติดด้วยเศษวัสดุ
..........................................................................................................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................................................................................................................





แบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานของนักเรียน
โรงเรียนอนุบาลบ้านโป่ง (วัดปลักแรด) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรีเขต 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ

ชื่อ-นามสกุล..............................................................เลขที่............ชั้น........................


รายการประเมิน ระดับคะแนน
ต้องปรับปรุง
(1-4 คะแนน) พอใช้
(5-7 คะแนน) ดี
(8-10 คะแนน)
ประเมินการทำงาน
1. มีการวางแผนการทำงานเป็นขั้นตอน
2. ทำงานเป็นระบบขั้นตอนตามแผนที่วางไว้
3. มีการวิเคราะห์งาน
4. การทำงานสำเร็จตามเป้าหมาย
5. การนำเสนอผลงาน
การประเมินนิสัยการทำงาน
1. ความรับผิดชอบงาน
2. ความขยันหมั่นเพียรในการทำงาน
3. ความสะอาด เรียบร้อย
4. ความมุ่งมั่น อดทนในการทำงาน
5. ใช้พลังงานและทรัพยากรต่าง ๆ
อย่างประหยัด
รวม
คะแนนรวม

ลงชื่อ...............................................ผู้ประเมิน
(.............................................)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น